ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

การสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ภายใต้ภาวะวิกฤต by ชนิตา สุวรรณกูฎ

ชื่อผลงาน การสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ภายใต้ภาวะวิกฤต

 ผู้ถ่ายทอด : นางสาวชนิตา สุวรรณกูฎ  ถ่ายทอด : วันที่ 9 กันยายน 2564
   
 
1. บทคัดย่อ
     สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นหน่วยงานหลักในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อตอบสนองการเรียนรู้และสอดคล้องต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน รูปแบบการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ภาวะวิกฤตโควิด-19 เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญ การปรับรูปแบบการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านระบบออนไลน์ จึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการนำมาใช้เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์จากผลกระทบโควิด-19 ด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการบริการเชิงรุก ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่องทาง Facebook Fan page: UBU Library รูปแบบรายการถ่ายทอดสด UBU2YOU รายการ Library 4 U และ OAR Star Audition ด้วยการสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร การสื่อสารในรายการถึงมาตรการความปลอดภัย การให้ความสำคัญของการอ่านเพื่อลดทอนความเครียด การนำเสนอหนังสือตามกระแสนิยม การเปิดพื้นที่รับฟังเสียงของบุคลากร และการจัดกิจกรรมของนักศึกษาผ่านการสื่อสารในรูปแบบของรายการถ่ายทอดสด ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอก เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนนอกห้องเรียนในการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันของผู้ใช้บริการในแบบออนไลน์ พร้อมเป็นเวทีให้จัดแสดงผลงานวิชาการ การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ ความร่วมมือที่ดีในการทำงาน เพื่อให้เกิดความรู้ และความเข้าใจในการให้บริการภายใต้ภาวะวิกฤตโควิด-19
 
2. บทนำ
     นับจากปลายปี 2562 จนถึงปี 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก มีผู้ป่วยติดเชื้อและเสียชีวิตนับล้านคน นับเป็นภัยอันตรายต่อมนุษยชาติ อีกทั้งเชื้อโควิด-19 มีการพัฒนาออกเป็นหลายสายพันธุ์แพร่ระบาดไปในหลายประเทศ หลายประเทศพัฒนาวัคซีนขึ้นเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส ในปี 2563 ประเทศไทย นับว่าเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ของโลกที่จัดการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดีจนนานาประเทศต่างชื่นชมผลการบริหารจัดการและดำเนินการควบคุมไม่ให้แพร่ระบาด พร้อมกับการจัดหาวัคซีนเข้ามารองรับฉีดให้กับประชากรอีกด้วย อย่างไรก็ตามในปี 2564 ในประเทศไทยพบว่ามีการแพร่ระบาดของเชื้อระลอกใหม่เพิ่มขึ้น และการฉีดวัคซีนป้องกันการระบาดก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการและการป้องกันโควิด 19 ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว หลายจังหวัดยังมีผู้ป่วยติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น มีการแพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้างในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ บางเขตถูก กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดเข้มงวด (แดงเข้ม) ซึ่งส่งผลต่อพื้นที่ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
   จากการที่ผู้ป่วยติดเชื้อเดินทางมาจากเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและไม่ปรากฎอาการของโรค จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จึงได้ออกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้นมารองรับสถานการณ์ ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 2/2564 ตามคำสั่งจังหวัดอุบลราชธานี ที่ 963/2564 ลงวันที่ 6 มกราคม 2564 ให้โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาจัดการเรียนการสอนเป็นรูปแบบออนไลน์ รวมถึงการป้องกันในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เป็นประจำ เว้นระยะห่างทางสังคมอย่างน้อย 1-2 เมตร ใช้ประตูเข้า-ออกเพียงทางเดียว เพื่อการคัดกรองคนเข้ามาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนอกจากเรื่องการป้องกันติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อโรค และเฝ้าระวังตนเองให้ปลอดภัยอยู่เสมอ
     มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงได้ออกมาตรการและประกาศมารองรับ คำสั่งของจังหวัดอุบลราชธานี เรื่อง มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 30 เมษายน 2564 เพื่อยกระดับการป้องกันและเฝ้าระวังของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยกำหนดมาตรการและการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ประกาศ หรือคำสั่งในการรักษาวินัยของเจ้าหน้าที่รัฐ และนักศึกษา ทั้งนี้ให้ผู้บังคับบัญชาหรือคณบดี ต้องกำชับ ติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
     สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจากวิกฤติ โควิด-19 ที่ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการจัดการศึกษา จากการระบาด ระรอก 2 นี้ และส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาในระยะยาว ทั้งนี้ สำนักวิทยบริการ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้บริการทรัพยากรการเรียนรู้ ตามยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเอง และยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างบรรยากาศการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ทันสมัย พร้อมทั้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการที่สอดคล้องต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ด้วยแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการบริการเชิงรุก ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ ช่องทาง Facebook Fan page จัดทำรายการถ่ายทอดสด UBU2YOU และรายการ Library 4 U เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร การสื่อสารในรายการถึงมาตรการความปลอดภัย การให้ความสำคัญของการอ่านเพื่อลดทอนความเครียด การนำเสนอหนังสือตามกระแสนิยม การเปิดพื้นที่รับฟังเสียงของบุคลากร และการจัดกิจกรรมของนักศึกษาผ่านการสื่อสารในรูปแบบของรายการถ่ายทอดสด เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารแบบสองทาง (Two way Communication) ระหว่างผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอก เป็นช่องทางให้ผู้ใช้บริการร่วมจัดกิจกรรมด้านต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน ในการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันของผู้ใช้บริการในแบบออนไลน์ พร้อมเป็นเวทีให้จัดแสดงผลงานวิชาการ จัดนิทรรศการ การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการสื่อสาร สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีในการท างานร่วมกับผู้ใช้บริการ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการให้บริการภายใต้ภาวะวิกฤตโควิด-19 การสร้างบรรยากาศนอกห้องเรียนให้มีความสนุกสนาน และช่วยลดทอนความเครียดจากภาวะวิกฤตดังกล่าว
   นอกจากนั้น ยังจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการที่เปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงาน ในรูปแบบการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านระบบออนไลน์ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
   
3. วัตถุประสงค์
        3.1 เพื่อการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและบริการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ภายใต้ภาวะวิกกฤต
        3.2 เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีในการท างานร่วมกับผู้ใช้บริการ
 
4. วิธีการ
     ดำเนินการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ภายใต้ภาวะวิกฤต ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่องทาง Facebook Fan page: UBU Library รูปแบบรายการถ่ายทอดสด UBU2YOU และรายการ Library 4 U ระยะเวลาดำเนินการจัดกิจกรรม ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – กันยายน 2564 รวมถึง OAR Star Audition ระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และบุคคลทั่วไป โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
     4.1 แต่งตั้งคณะกรรมการ รายการ UBU2YOU เป็นความร่วมมือระหว่างสื่อสารองค์กร ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สำหรับรายการ Library 4 U เป็นความร่วมมือระหว่างฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา และฝ่ายหอสมุด รวมถึง OAR Star Audition ที่เฟ้นหานักศึกษามาร่วมเป็นนักแสดงในคลิปวิดีโอแนะนำการบริการและรูปแบบหนังสั้นของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
     4.2 วางแผนการดำเนินงานกำหนดเนื้อหาและจำนวนตอน โดยรายการ UBU2YOU มีเป้าหมายถึงสิ้นปี 2564 จ านวน 54 ตอน และรายการ Library 4 U มีเป้าหมาย จำนวน 4 ตอนต่อเดือน ตอนละ 30 - 45 นาที พิธีกรจะมีการปรับเปลี่ยนตามเนื้อหาของรายการและแขกรับเชิญ แต่จะมีพิธีกรหลักของแต่ละรายการ UBU2YOU ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ บุญอาจ และนายเพลิน วิชัยวงศ์ นักประชาสัมพันธ์ ช านาญการพิเศษ ส่วนรายการ Library 4 U ได้แก่ นางสาวชนิตา สุวรรณกูฎ และพนม จรูญแสง
     4.3 ประชุมเตรียมงาน การคัดเลือกเนื้อหา และสรุปงาน ผ่านระบบ on-site / ออนไลน์ ทั้งในรูปแบบของการสื่อสารส่วนบุคคลถึงผู้เกี่ยวข้องโดยตรงทั้งแชท (Chat) หรือวิดีโอคอล (Video Call) และการประชุมในภาพรวมกำหนดไว้ที่ 2 เดือน/ครั้ง
     4.4 การแพร่ภาพรายการถ่ายทอดสด รายการ UBU2YOU ทาง Facebook Fan page: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพจสื่อสารองค์กร เพจที่นี่ ม.อุบลฯ และเพจ UBU Library ส าหรับรายการ Library 4 U ทาง Facebook Fan page: UBU Library
 
5. ผลการดำเนินงาน
     การดำเนินงานในการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ภายใต้ภาวะวิกฤต รูปแบบรายการถ่ายทอดสด UBU2YOU และรายการ Library 4 U ขอสรุปเป็นภาพรวมในแต่ละประเด็น ทั้งผลที่ได้รับจากการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ดังนี้
   
   5.1 ผลที่ได้รับจากการด าเนินงาน
         5.1.1 การประชาสัมพันธ์ ได้มีประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและบริการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ภายใต้ภาวะวิกกฤต ตัวอย่างเช่น เนื้อหารายการที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 รายการ UBU2YOU ตอนจะเรียน จะสอน จะสอบออนไลน์ในยุค โควิด-19, เรียนว่ายน้ำออนไลน์เรียนอย่างไร, OCN Show and Sharing โดยสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย, ชีวิตวิถีใหม่ เภสัชกรอยู่ใกล้ มั่นใจ คนไทยใช้ยาปลอดภัย เภสัชกรอยู่ใกล้ ใช้ยาปลอดภัย, การเตรียมพร้อมก่อนฉีดวัคซีนและอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด พบกับ อ.ภก.ประสิทธิชัย พูลผล อาจารย์กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ ฉีดวัคซีนแล้วเป็นอย่างไร ประสบการณ์การฉีดวัคซีนป้องปันโรคโควิด-19 ครบ 2 เข็ม โดยนักศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข, การจัดการและการบริการ การท่องเที่ยวในยุคของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยคณาจารย์คณะศิลปศาสตร์
      รายการ Library 4 U ตอนไม่ประมาท การ์ดอย่าตก ระลอก 3 OAR Smile รณรงค์กระตุ้นผู้ใช้บริการสู้วิกฤตโควิด 19, ตอนไม่ประมาท การ์ดอย่าตก OAR Smile เตรียมความพร้อมก่อนให้บริการ สู้วิกฤตโควิด 20, วัคซีนต้าน COVID-19 สมุนไพรและ COVID-19 5.1.2 การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดี ได้สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีในการทำงานร่วมกับผู้ใช้บริการ ตัวอย่างเช่น รายการ UBU2YOU เนื้อหารายการที่นำเสนอผลงานที่ได้รับรางวัล ตอนการพัฒนาสตาร์ทอัพ โดยหน่วยพัฒนาสตาร์ทอัพ อุทยานวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาที่ได้รับรางวัลชมเชยจากโครงการ Research to Market 2021, ชวนเที่ยวตลาดชุมชนหนองหอ โครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น, นักศึกษาคณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ เจ้าของรางวัลชนะเลิศการออกแบบชุดราตรีมิสแกรนและผ้าทอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี รวมถึง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยในดวงใจของชุมชน มาตรฐานสากล ผลการจัดอันดับ University Impact Rankings และ SCIMAGO Institutions Rankings รายการ Library 4 U ตอนการแข่งขัน E-Spot ผ่านการทำ Vitual Event: ROV Extreme War, ดีเบตการเลือกตั้งนายกสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, กิจกรรมชมรม UBU Green Club, การสัมภาษณ์พิเศษ คณะศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, หนังสือน่าอ่านสร้างแรงบันดาลใจ หลักคิดที่คนญี่ปุ่นพกไปท างานทุกวัน, เปิดตัวหนังสือใหม่ 2 เล่ม เรื่อง ความงามในโลกภาพยนตร์ และตัวละครในโลกภาพยนตร์ การถ่ายทอดสดผ่านระบบ streamyard ในตอน Library on tour คณะศิลปศาสตร์ รวมถึงการจัดท าคลิปวิดีโอเนื้อหาการเปิดรับนักแสดง OAR Star Audition ที่ให้นักศึกษามาร่วมแสดงในคลิปวิดีโอและหนังสั้นของส านักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งนี้ ได้มีการสรุปวิดีโอยอดนิยมทั้งเชิงปริมาณ จ านวนผู้เข้าร่วมรับชม 5 อันดับ ไม่ต่ ากว่า 4,293 view และจ านวนชองรางวัลแมส ถุงผ้า ได้มอบให้ผู้ร่วมสนุกจ านวน 200 ชิ้น รวมวิเคราะห์จากกลุ่มเป้าหมายทุกประเภท จ านวนทั้งหมด 15,470 คน (ข้อมูลการเข้าถึงนับเฉพาะรายการ Library 4 U ถึงมิถุนายน 2564)
 
 
     5.2 ปัญหา และอุปสรรค
         5.2.1 ระบบด้านเทคนิคการออกอากาศ ระบบเสียง ในการสัมภาษณ์บางตอนปัญหาของเสียงที่เบาและขาดหายบางช่วง เกิดจากการเข้าถึงอุปกรณ์แปลงเสียง ไม่สอดคล้องกับการใช้งาน, ระบบไฟ การจัดแสงสว่างภายในสตูดิโอ ยังไม่เหมาะสมต่อการถ่ายทอดสดในช่วงแรก แต่มีการปรับในช่วงหลังด้วยการจัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดไฟให้เหมาะสม และการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตยังไม่เสถียร ในการใช้โปรแกรมร่วมกับการถ่ายทอดสด ทั้งนี้ขึ้นกับช่วงเวลาและสถานการณ์ แต่ได้มีการสื่อสารไปยังผู้รับผิดชอบ ทำให้ระบบอในการถ่ายทอดสดสมบูรณ์ขึ้น
          5.2.2 สถานการณ์ของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการถ่ายทอดสดรายการ Library 4 U ที่งดการออกอากาศรายการทั้งเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 เนื่องจากสถานการณ์ฉุกเฉินตามประกาศฯ มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ระลอกใหม่ (ฉบับที่ 4) รวมถึงการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลักยังไม่ครอบคลุม เนื่องจากมีช่วงที่ปิดเทอม และการเรียนการสอนออนไลน์
      5.3 ข้อเสนอแนะ
            5.3.1 อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายทอดสดและการทำงาน ควรจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการใช้งานให้สอดคล้องต่อการทำงานนอกสถานที่ การเตรียมความพร้อมในการจัดแสงสว่างและระบบเสียงก่อนออกอากาศ รวมถึงการทดสอบโปรแกรมหรือเตรียมความพร้อมล่วงหน้าก่อนการเริ่มรายการทุกครั้ง
            5.3.2 ระบบเครือข่ายและสัญญาณอินเตอร์เน็ต ควรทำการขยายพื้นที่ด้วยการกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตในส่วนของคณะต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอรายการในรูปแบบของ On tour ไปยังคณะที่ต้องการมีส่วนร่วมในรายการ เพราะยังพบบริเวณที่เป็นจุดอับสัญญาณ
 
6. สรุป
     การสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ภายใต้ภาวะวิกฤต ทำให้เห็นถึงความสามารถในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ หรือต่อยอดเพื่อให้บุคคลหรือหน่วยงานอื่นไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง (impact) การแนะนำบทบาทหน้าที่การทำงานด้านต่าง ๆ ในรูปแบบออนไลน์ช่วยประหยัดเวลาการดำเนินการและงบประมาณในการจัดกิจกรรม การเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เพิ่มช่องทางในการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการแสดงความรู้ความสามารถ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลาการทั้งภายในและภายนอกองค์กร สร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
 ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ